เครื่องหมายและสัญลักษณ์ความปลอดภัยในโรงงาน

ตลับลูกปืนคืออะไร ไว้ใช้ในงานไหนบ้าง

Table of Contents

หลายๆ คนอาจเข้าใจว่า เครื่องหมายและสัญลักษณ์ความปลอดภัยจะสามารถพบเจอได้แต่ภายในโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ป้ายสัญลักษณ์เหล่านี้ถือเป็นสิ่งสากลที่สามารถพบเจอได้ตามสถานที่ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น ภายในอาคารสำนักงาน ภายในโรงพยาบาล ภายในห้างสรรพสินค้า หรือบริเวณเขตที่มีการก่อสร้างใกล้กับถนน ดังนั้น การทำความรู้จักสัญลักษณ์ความปลอดภัยจะช่วยให้สามารถเข้าใจความหมาย และเลือกใช้ได้อย่างถูกต้อง

ความสำคัญของป้ายความปลอดภัย

ความสำคัญของป้ายความปลอดภัย

สัญลักษณ์ความปลอดภัย เป็นเครื่องหมายที่ใช้เพื่อแจ้งสถานะ หรือเตือนเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากบริเวณใดบริเวณหนึ่ง รวมถึง เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้ในการระบุการกระทำที่จำเป็นอีกด้วย โดยนิยมใช้เป็นสัญลักษณ์ และสีต่างๆ ที่มีการตกลงร่วมกัน หรือทุกคนสามารถเข้าใจได้อย่างเป็นสากล เช่น ไอคอน หรือตัวอักษรไว้บนป้าย เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถสังเกตเห็นได้ง่าย ลดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติ และเป็นการสร้างบรรยากาศที่ปลอดภัยในการทำงาน 


โดยสถานที่และอุปกรณ์ที่นิยมมีเครื่องหมายความปลอดภัย เช่น ภายในโรงงานอุตสาหกรรม เขตก่อสร้าง สถานพยาบาล หรือบนท้องถนน รวมถึง พื้นที่ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายอื่นๆ อาทิ ห้องควบคุมไฟฟ้า พื้นที่อับอากาศ หรือห้องเก็บสารเคมี

ทำไมต้องใช้สัญลักษณ์ความปลอดภัย

ทำไมต้องใช้สัญลักษณ์ความปลอดภัย

เนื่องจากอุบัติเหตุเป็นสิ่งที่สามารเกิดขึ้นได้กับทุกคนและทุกสถานที่ รวมถึง ในบางสถานที่อาจมีปัจจัยที่เพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเกิดอันตรายให้มากขึ้นอีกด้วย เช่น ห้องควบคุมไฟฟ้าในโรงงาน หรือเขตก่อสร้างในสวนสนุก ซึ่งสัญลักษณ์ความปลอดภัยเหล่านี้ จึงมีความสำคัญต่อทุกคน ดังนี้

  • ช่วยเพิ่มความระมัดระวังให้กับผู้พบเห็น และช่วยลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุ เช่น บนท้องถนน หรือในโรงงานอุตสาหกรรม
  • เป็นสัญลักษณ์ที่ทุกคนทั่วโลก สามารถเข้าใจตรงกันได้ เนื่องจากการเลือกใช้สี และรูปทรงของเครื่องหมายความปลอดภัยจะมีความเป็นสากล 
  • เป็นแนวทางในการปฏิบัติตัวเพื่อสร้างความปลอดภัย เมื่ออยู่ในสถานที่นั้นๆ เช่น ป้ายทางออกฉุกเฉินในห้างสรรพสินค้า หรือป้ายระบุให้สวมที่ครอบหูลดเสียงในโรงงานอุตสาหกรรม
สีและสัญลักษณ์ความปลอดภัย คืออะไร

สีและสัญลักษณ์ความปลอดภัย คืออะไร

สีและสัญลักษณ์ความปลอดภัย คือ สิ่งที่ใช้ระบุเพื่อแสดงสถานะที่ต้องการ ซึ่งจะมีการใช้สีและสัญลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละประเภทสถานะที่ต้องการแจ้ง เช่น แนวทางปฏิบัติ การเตือน หรือการห้าม เป็นต้น โดยสิ่งเหล่านี้จะมาในรูปแบบของป้าย ที่แสดงสัญลักษณ์ การใช้สีที่สื่อความหมาย และการระบุข้อความสั้นๆ

ส่วนประกอบของป้ายความปลอดภัย

สำหรับส่วนประกอบที่สำคัญของป้ายความปลอดภัย จะมีอยู่ 3 ส่วนหลัก ดังนี้

  • สีของป้าย โดยส่วนใหญ่ภายในป้ายจะประกอบด้วย 2 สี คือ 1. สีหลัก เช่น สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน หรือสีเขียว และ 2.สีตัด เช่น สีดำ หรือสีขาว ทั้งนี้ สีที่ใช้จะมีความแตกต่างกันออกไปตามประเภทของสัญลักษณ์ความปลอดภัยที่ต้องการจะสื่อ 
  • รูปทรงของป้าย ซึ่งจะใช้เป็นรูปทรงเรขาคณิต เช่น วงกลม สี่เหลี่ยม หรือสามเหลี่ยมด้านเท่า
  • เครื่องหมายเสริม เช่น การระบุข้อความในภาษาต่างๆ เพิ่มเติม เพื่อเป็นการขยายความสัญลักษณ์ความปลอดภัย และเพื่อให้ทุกคนมีความเข้าใจที่ตรงกัน
สีของป้ายและรูปทรงของป้ายความปลอดภัย

สีของป้ายและรูปทรงของป้ายความปลอดภัย

สีแดง

การใช้สีแดง (Red) ในเครื่องหมายความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม หรือสถานที่ต่างๆ โดยทั่วไปจะมีความหมาย ดังนี้

  • ความหมาย: หยุด หรือ ห้าม 
  • รูปทรงของป้าย: รูปทรงวงกลม และบางครั้งอาจมีเส้นขีดทับตรงกลาง
  • สีที่ใช้ตัด: สีขาว
  • ตัวอย่างป้าย: ป้ายหยุด เครื่องหมายอุปกรณ์หยุดฉุกเฉิน หรือป้ายห้ามบุคคลภายนอกเข้า

นอกจากนี้ สีแดงยังสามารถใช้แสดงอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับอัคคีภัย เช่น ถังดับเพลิง โดยมักจะอยู่บนป้ายที่เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสแทน

สีฟ้า

การใช้สีฟ้าหรือสีน้ำเงิน (Blue) ในเครื่องหมายความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม หรือสถานที่ต่างๆ โดยทั่วไปจะมีความหมาย ดังนี้

  • ความหมาย: การบังคับให้ปฏิบัติตาม 
  • รูปทรงของป้าย: รูปทรงวงกลม 
  • สีที่ใช้ตัด: สีขาว
  • ตัวอย่างป้าย: เครื่องหมายบังคับ ป้ายสวมที่ครอบหู ป้ายสวมถุงมือขณะปฏิบัติหน้าที่ หรือป้ายบังคับให้สวมเครื่องป้องกันส่วนบุคคล

สีเขียว

การใช้สีเขียว (Green)  ในเครื่องหมายความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม หรือสถานที่ต่างๆ โดยทั่วไปจะมีความหมาย ดังนี้

  • ความหมาย: ปลอดภัย หรือแสดงสภาวะที่มีความปลอดภัย 
  • รูปทรงของป้าย: รูปทรงสี่เหลี่ยม
  • สีที่ใช้ตัด: สีขาว
  • ตัวอย่างป้าย: ทางออกฉุกเฉิน ทางหนีไฟ หน่วยปฐมพยาบาล หน่วยกู้ภัย จุดรวมพล หรือฝักบัวชำระล้างฉุกเฉิน

สีเหลือง

การใช้สีเหลือง (Yellow)  ในเครื่องหมายความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม หรือสถานที่ต่างๆ โดยทั่วไปจะมีความหมาย ดังนี้

  • ความหมาย: มีความหมายว่าระวัง โดยมักจะใช้กับสิ่งที่บ่งชี้ว่าอาจเป็นอันตรายได้ ซึ่งสามารถใช้ได้กับทั้งวัตถุที่อันตราย เช่น ไฟ วัตถุระเบิด วัตถุมีพิษ หรือสารกัมมันตภาพรังสี หรือเขตพื้นที่ที่มีความอันตราย เช่น เครื่องกีดขวาง หรือทางผ่านที่มีอันตราย
  • รูปทรงของป้าย: รูปทรงสามเหลี่ยมด้านเท่า
  • สีที่ใช้ตัด: สีดำ
  • ตัวอย่างป้าย: ป้ายเตือนระวังความร้อนของไฟ ป้ายระวังสารกัดกร่อน และป้ายพื้นที่อันตราย
เครื่องหมายเสริมบนป้ายความปลอดภัยคืออะไร

เครื่องหมายเสริมบนป้ายความปลอดภัยคืออะไร

เครื่องหมายเสริมบนป้ายความปลอดภัย คือ ส่วนข้อความ สามารถใช้เป็นภาษาเดียว หรือหลายภาษาก็ได้ โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมพื้นผ้า หรือสี่เหลี่ยมจัตุรัส ที่อยู่ด้านล่างของเครื่องหมายความปลอดภัย มีวัตถุประสงค์เพื่อสื่อสารให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายตรงกัน และเน้นย้ำให้นำไปปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อสร้างบรรยากาศที่ปลอดภัยกับทุกคน

ป้ายความปลอดภัย มีกี่ประเภท

สำหรับประเภทของป้ายความปลอดภัยในประเทศไทยจะแบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม ดังนี้

ป้ายห้าม

ป้ายห้าม (Prohibition Sign) คือ ป้ายแสดงสัญลักษณ์ที่บอกคำสั่งห้าม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการแสดงพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง หรือเป็นอันตราย ทั้งต่อผู้ปฏิบัติเอง ต่อบุคคลอื่นในบริเวณใกล้เคียง และต่อสถานที่หรือทรัพย์สินในบริเวณดังกล่าวอีกด้วย เช่น ป้ายห้ามบุคคลภายนอกเข้า ห้ามถ่ายภาพ หรือห้ามจุดไฟ โดยป้ายห้ามจะมีรายละเอียด ดังนี้

  • รูปทรง: ป้ายจะเป็นรูปวงกลม และจะมีเส้นทแยงมุม 45 องศา คาดทับตรงกลาง
  • สี: จะใช้สีแดงเป็นสีเพื่อแสดงความปลอดภัย โดยจะต้องมีพื้นที่อย่างน้อย 30% ของพื้นที่ทั้งหมด ใช้สีขาวเป็นสีตัด และจะใช้สีดำเป็นสีของภาพหรือสัญลักษณ์ที่ปรากฏ

ป้ายเครื่องหมายเตือน

ป้ายเครื่องหมายเตือน (Warning Sign) คือ ป้ายที่แสดงสัญลักษณ์ที่มีความหมายในการเตือน โดยมีจุดประสงค์เพื่อบอกถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น และเตือนให้ระวัง เช่น ป้ายระวังวัตถุระเบิด ป้ายระวังพื้นลื่น หรือระวังอันตรายจากเครื่องจักร เป็นต้น โดยป้ายเครื่องหมายเตือนจะมีรายละเอียด ดังนี้

  • รูปทรง: ป้ายจะใช้รูปทรงสามเหลี่ยมด้านเท่า โดยส่วนยอดจะชี้ขึ้นด้านบน
  • สี: จะใช้สีเหลืองเป็นสีเพื่อแสดงความปลอดภัย โดยจะต้องมีพื้นที่อย่างน้อย 50% ของพื้นที่ทั้งหมด และใช้สีดำเป็นสีตัด และสีของภาพหรือสัญลักษณ์ที่ปรากฏ

ป้ายเครื่องหมายบังคับ

ป้ายเครื่องหมายบังคับใช้ (Mandatory Sign) คือ ป้ายที่แสดงสัญลักษณ์ที่มีความหมายบังคับให้ปฏิบัติตามคำสั่งบนป้าย โดยมีจุดประสงค์เพื่อแนะนำแนวทางที่ควรปฏิบัติเพิ่มความปลอดภัย และป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการละเลยพฤติกรรมนั้นๆ เช่น ป้ายสวมถุงมือป้องกันในขณะปฏิบัติหน้าที่ ป้ายสวมที่ครอบหู และป้ายต้องใส่กุญแจตลอดเวลา เป็นต้น โดยป้ายเครื่องหมายบังคับใช้จะมีรายละเอียด ดังนี้

  • รูปทรง: ป้ายจะใช้รูปวงกลม
  • สี: จะใช้สีฟ้าหรือสีน้ำเงินเป็นสีเพื่อแสดงความปลอดภัย โดยจะต้องมีพื้นที่อย่างน้อย 50% ของพื้นที่ทั้งหมด และใช้สีขาวเป็นสีตัด และสีของภาพหรือสัญลักษณ์ที่ปรากฏ

ป้ายเครื่องหมายแสดงสถานะปลอดภัย

เครื่องหมายจุดปลอดภัย เครื่องหมายฉุกเฉิน หรือเครื่องหมายสารนิเทศเกี่ยวกับสภาวะปลอดภัย (Safe Condition Sign) คือ ป้ายที่แสดงพื้นที่ที่มีความปลอดภัย โดยมีจุดประสงค์เพื่อแนะนำสถานที่ หรือจุดที่มีสภาวะปลอดภัยกับทุกคน เช่น ป้ายจุดรวมพล ป้ายจุดปฐมพยาบาล ป้ายทางออกฉุกเฉิน และป้ายที่ล้างตาฉุกเฉิน เป็นต้น 

 

ทั้งนี้ ป้ายเหล่านี้อาจอยู่ในสถานที่ที่อาจก่อให้เกิดอันตราย หรือสถานที่ปิด เช่น ภายในโรงงานอุตสาหกรรม หรืออาคารสำนักงาน โดยป้ายเครื่องหมายสารนิเทศเกี่ยวกับสภาวะปลอดภัย จะมีรายละเอียด ดังนี้

  • รูปทรง: ป้ายส่วนใหญ่จะใช้รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่บางกรณีอาจปรับเป็นสี่เหลี่ยมพื้นผ้า ตามความเหมาะสม
  • สี: จะใช้สีเขียวเป็นสีเพื่อแสดงความปลอดภัย โดยจะต้องมีพื้นที่อย่างน้อย 50% ของพื้นที่ทั้งหมด และใช้สีขาวเป็นสีตัด และสีของภาพหรือสัญลักษณ์ที่ปรากฏ

ป้ายที่มีความเกี่ยวข้องกับอัคคีภัย

ป้ายที่เกี่ยวข้องกับอัคคีภัย หรือป้ายเครื่องหมายอุปกรณ์ป้องกันไฟไหม้ (Fire Safety Sign) คือ ป้ายที่แสดงจุดติดตั้งของอุปกรณ์ป้องกันไฟ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ที่อยู่อาศัยภายในพื้นที่รู้ถึงประเภทของอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัย และตำแหน่งที่ติดตั้ง เช่น ภายในโรงงานอุตสาหกรรม หรืออาคารสำนักงาน ซึ่งจะสามารถนำมาใช้ได้อย่างทันท่วงทีในกรณีที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ 

รวมถึง แนวทางในการปฏิบัติตัวอื่นๆ ที่จำเป็น เพื่อความปลอดภัยของทุกชีวิตและทรัพย์สิน ยกตัวอย่างป้าย เช่น ป้ายแสดงตำแหน่งของชุดอุปกรณ์ดับเพลิง ป้ายสัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน ป้ายจุดกดแจ้งเหตุเพลิงไหม้ และป้ายห้ามใช้ลิฟท์ขณะเกิดเพลิงไหม้ โดยป้ายที่เกี่ยวข้องกับอัคคีภัย ใช้จะมีรายละเอียด ดังนี้

  • รูปทรง: ป้ายส่วนใหญ่จะใช้รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่บางกรณีอาจปรับเป็นสี่เหลี่ยมพื้นผ้า ตามความเหมาะสม เช่น ป้ายตำแหน่งถังดับเพลิงจะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่หากมีการแสดงวิธีการใช้ถังดับเพลิงขั้นพื้นฐาน ป้ายจะเป็นสี่เหลี่ยมพื้นผ้า
  • สี: จะใช้สีแดงเป็นสีเพื่อแสดงความปลอดภัย โดยจะต้องมีพื้นที่อย่างน้อย 50% ของพื้นที่ทั้งหมด และใช้สีขาวเป็นสีตัด และสีของภาพหรือสัญลักษณ์ที่ปรากฏ

ตัวอย่างมาตรฐานสัญลักษณ์ความปลอดภัย

มาตรฐานสัญลักษณ์ความปลอดภัย คือ รูปแบบของเครื่องหมายและสัญลักษณ์ความปลอดภัยที่ทั้งกฎหมายไทยและต่างประเทศได้กำหนดไว้ โดยจะมีรูปแบบที่เป็นสากล แต่อาจมีความแตกต่างกันเล็กน้อยที่ส่วนของรูปแบบ และภาษาที่ใช้ โดยตัวอย่างมาตรฐานสัญลักษณ์ความปลอดภัย มีดังนี้

มอก.635-2554

มอก. 635-2554 คือ มาตรฐานที่กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับหลักการการออกแบบผลิตภัณฑ์ เครื่องหมาย สี และสัญลักษณ์แสดงความปลอดภัย ที่ใช้ในสถานที่ทำงาน หรือพื้นที่สาธารณะ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ตามนโยบายของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ)

 

โดยมอก. 635-2554 จะมีการกำหนดรูปแบบการใช้สี และเครื่องหมายที่แตกต่างกันออกไปตามประเภทของข้อความที่ต้องการสื่อสาร ซึ่งแบ่งประเภทของเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยออกเป็น 5 รูปแบบ คือ เครื่องหมายห้าม เครื่องหมายบังคับ เครื่องหมายเตือน เครื่องหมายแสดงสภาวะปลอดภัย และเครื่องหมายแสดงอุปกรณ์เกี่ยวกับอัคคีภัย

มาตรฐาน ISO 3864

มาตรฐาน ISO 3864 คือ มาตรฐานสากลของการออกแบบป้าย หรือเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย ที่ใช้ในสถานที่ทำงาน และสถานที่สาธารณะ โดยจะเน้นการใช้ภาพกราฟิก หรือสัญลักษณ์ที่สามารถตีความสารได้ง่าย เพื่อลดปัญหาในส่วนของกำแพงภาษา ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 4 ส่วน คือ 

  • หลักการออกแบบป้ายความปลอดภัย และ ความปลอดภัย (ISO 3864-1:2011)
  • หลักการออกแบบฉลากความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ (ISO 3864-2:2016)
  • หลักการออกแบบสัญลักษณ์กราฟิก เพื่อใช้ในป้ายความปลอดภัย (ISO 3864-3:2012)
  • คุณสมบัติสี และ โฟโตเมตริกของวัสดุป้ายความปลอดภัย (ISO 3864-4:2011)

มาตรฐาน ISO 7010

มาตรฐาน ISO 7010 คือ มาตรฐานของสัญลักษณ์ความปลอดภัย ที่มีจุดประสงค์เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ และป้องกันการเกิดอุบัติในรูปแบบต่างๆ เช่น การอพยพฉุกเฉิน หรือการเกิดอัคคีภัย ซึ่งจะเน้นไปที่การใช้สัญลักษณ์ และลดการใช้ปริมาณตัวอักษรให้น้อยที่สุด เพื่อสร้างความเข้าใจที่เป็นสากลตามมาตรฐาน ISO 3864-1

มาตรฐาน ANSI Z535

มาตรฐาน ANSI Z535 คือ มาตรฐานสำหรับเครื่องหมายและสัญลักษณ์ความปลอดภัยที่กำหนดโดยสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (ANSI: American National Standards Institute) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ โดยได้กำหนดไว้ทั้งหมด 6 รูปแบบ ดังนี้

  • สีแดง: สำหรับสัญญาณอันตราย สัญญาณฉุกเฉิน และวัตถุไวไฟ
  • สีส้ม: สำหรับสัญญาณเตือน และบอกถึงสถานะของอุปกรณ์-เครื่องจักรที่กำลังอยู่ในระหว่างการทำงาน
  • สีเหลือง: สำหรับการแจ้งเตือนเมื่อเกิดอันตรายทางกายภาพ
  • สีเขียว: สำหรับความปลอดภัย และการปฐมพยาบาล
  • สีฟ้า: สำหรับสิ่งอำนวยความสะดวกหรืออื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย
  • สีม่วง: สามารถกำหนดการใช้งานได้ตามสะดวกในสถานที่ของตัวเอง

ข้อควรระวังในการใช้งานป้ายความปลอดภัย

ในการใช้งานป้ายหรือสัญลักษณ์เพื่อความปลอดภัยให้ได้ประโยชน์สูงสุด และไม่ก่อให้เกิดปัญหาตามมา มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • สิ่งที่ควรให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ความชัดเจนของสารที่ต้องการให้ผู้รับเข้าใจ
  • หลีกเลี่ยงการนำเครื่องหมายปลอดภัยมากว่า 1 ชนิดมารวมอยู่ในรูปเดียว เช่น หากต้องการให้ผู้ปฎิบัติงานในโรงงานสวมใส่แว่นตานิรมัย หมวกนิรภัย และที่ครอบหูลดเสียง ควรทำป้ายแยกออกเป็น 3 ป้าย ซึ่งนอกจากจะช่วยป้องกันความเข้าใจผิดแล้ว ยังช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถเช็กลิสต์ถึงสิ่งจำเป็นของตัวเองได้อีกด้วย
  • ใช้สี รูปทรง และเครื่องหมายให้ถูกต้องกับประเภทของสารที่ต้องการจะสื่อ เช่น การใช้สีฟ้ากับป้ายที่ต้องการให้ปฏิบัติตาม หรือการใช้สีเขียวกับป้ายที่เกี่ยวข้องความปลอดภัย

สรุป

ป้ายที่แสดงสัญลักษณ์ความปลอดภัย คือ เครื่องหมายที่ใช้บอกสถานะ หรือแนวทางที่ควรปฏิบัติเพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับทุกคน และทรัพย์สินที่อยู่ในบริเวณหนึ่งๆ ซึ่งสีและรูปทรงของป้ายจะแตกต่างกันออกไปตามประเภทของสารที่ต้องการจะสื่อ เช่น สีเหลืองและป้ายสามเหลี่ยมจะหมายถึงการเตือนให้ระมัดระวัง หรือสีฟ้าบนป้ายวงกลมจะหมายถึงพฤติกรรมที่ควรปฏิบัติตาม เป็นต้น แม้เครื่องหมายความปลอดภัยจะนิยมใช้ภายในโรงงานอุตสาหกรรม แต่ก็เป็นสิ่งที่สามารถพบได้ในสถานที่ต่างๆ เช่น ป้ายระวังลื่นในห้างสรรพสินค้า หรือป้ายห้ามใช้ลิฟท์ขณะเกิดเพลิงไหม้ในอาคารสำนักงาน ดังนั้น การทำความเข้าใจกับสัญลักษณ์ รวมถึง การใช้ชีวิตอย่างมีสติ และตั้งอยู่ในความไม่ประมาทจะช่วยป้องกันอันตรายหรืออุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.

Recent Posts

รางสไลด์
รางสไลด์คืออะไร สำคัญแค่ไหนในอุตสาหกรรมโรงงาน

รางสไลด์เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการออกแบบเครื่องจักรในอุตสาหกรรม เพราะนำมาประยุกต์ใช้ได้กับเครื่องจักรและเครื่องมือหลายแบบ

Read More »
อุปกรณ์เซฟตี้
อุปกรณ์ Safety ที่ต้องมีในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อความปลอดภัย

ความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคนที่ทำงานในนี้ จึงควรมีอุปกรณ์ Safety ไว้ เพื่อไม่ให้เสี่ยงกับอันตรายจากอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์อื่นๆ

Read More »
เครื่องหมายและสัญลักษณ์ความปลอดภัยในโรงงาน
เครื่องหมายและสัญลักษณ์ความปลอดภัยในโรงงานที่ไม่ควรมองข้าม

เครื่องหมายและสัญญาลักษณ์ต่างๆ ในโรงงานหรือเขตก่อสร้างเป็นสิ่งที่เราต้องศึกษาเพราะเกี่ยวกับความปลอดภัยของชีวิตเราโดยตรง แต่ละประเภทจะแตกต่างกันออกไป

Read More »
เครื่องหมาย มอก.
เครื่องหมาย มอก. คืออะไร ใช้กับสินค้าอะไรบ้าง?

มอก. ย่อมาจาก มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ซึ่งแปลว่า ข้อกำหนดทางวิชาการที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ช่วยในการตัดสินใจในการเลือกสินค้า

Read More »
ตลับลูกปืน
ตลับลูกปืนคืออะไร มีกี่ประเภท? ไว้ใช้ในงานไหนบ้าง

เครื่องจักรทุกเครื่องย่อมมีชิ้นส่วนหลายชิ้น ตลับลูกปืนก็เป็นชิ้นส่วนหนึ่งที่สำคัญมาก เป็นตัวที่ลดแรงเสียดทานให้ตัวเครื่องกับเพลา ให้ลื่นไหลได้อย่างดี

Read More »
หลักการซ่อมและบำรุงเครื่องจักรในโรงงาน
หลักการซ่อมและบำรุงเครื่องจักรในโรงงาน

โรงงานต่างๆ นอกจากส่วนงานผลิตที่สำคัญ ยังมีงานซ่อมบำรุงที่สำคัญเช่นกัน เพื่อให้เครื่องจักรไม่มีปัญหา จะได้ไม่กระทบกับการทำงานฝ่ายต่างๆ

Read More »