หลักการซ่อมและบำรุงเครื่องจักรในโรงงาน

หลักการซ่อมและบำรุงเครื่องจักรในโรงงาน

Table of Contents

เป็นเรื่องปกติที่เครื่องมือเครื่องใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เมื่อถูกใช้งานไปนานๆ ก็ต้องมีการเสื่อมสภาพ ชำรุด หรือเสียหายขัดข้อง ดังนั้น เพื่อให้เครื่องมือหรือเครื่องจักรต่างๆกลับมาใช้งานได้ และเพื่อยืดอายุให้เครื่องมือต่างๆ ใช้ได้ยืดยาวมากขึ้น ในทุกๆ โรงงานจำเป็นต้องมีแผนกซ่อมบำรุงเครื่องมือเพื่อคอยรักษาสภาพของเครื่องจักรให้พร้อมใช้งานเสมอ และต้องมีหลักการเพื่อเป็นมาตรฐานให้กับการซ่อมบำรุง ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญมากๆ ต่อระบบการผลิต เพราะถ้าเครื่องจักรภายในโรงงานขาดการซ่อมบำรุงที่มีประสิทธิภาพ แล้วเกิดเสียบ่อยๆ หรือพังขึ้นมา การผลิตก็จะไม่สามารถทำหน้าที่ต่อได้ ทำให้ไม่มีการผลิตผลิตภัณฑ์ให้กับโรงงานได้ ซึ่งจะทำให้สูญเสียผลประโยชน์อย่างมหาศาล ทั้งต้นทุน และโอกาสในการผลิต เพราะฉะนั้นการให้ความสำคัญในขั้นตอนการซ่อมบำรุง จะส่งผลดีให้อุตสาหกรรมการผลิตได้เป็นอย่างมาก เพราะงั้นก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจถึงหลักการซ่อมและบำรุงเครื่องมือเครื่องจักรในโรงงานว่ามีหลักการซ่อมบำรุงอะไรบ้างที่ควรจะต้องรู้

งานซ่อมและงานบำรุงคืออะไร

งานซ่อมและงานบำรุงคืออะไร

ระบบงานซ่อมและงานบำรุง (Maintenance System) หมายถึง การพยายามรักษาสภาพของเครื่องมือ หรือเครื่องจักรต่างๆ ในโรงงานให้มีสภาพที่พร้อมจะใช้งานอยู่ตลอดเวลา

ซึ่งถ้าให้พูดแบบลงลึกนั้น การซ่อมจะเกี่ยวกับการถอด รื้อ หรือเปลี่ยนอะไหล่ด้านในเครื่องจักรที่หมดประสิทธิภาพแล้ว ทำให้ประกอบกลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม ส่วนการบำรุงคือการที่คอยเช็คสภาพเครื่องจักร วางแผนที่จะช่วยยืดอายุการใช้งาน เช่น การเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง การเปลี่ยนจาระบี เป็นต้น

งานซ่อมและบำรุงรักษามีบทบาทที่สำคัญที่ช่วยให้การผลิตและการบริการของอุตสาหกรรมนั้นดำเนินการต่อได้อย่างราบรื่น ซึ่งในปัจจุบันในวงการอุตสาหกรรมนั้นจำเป็นที่จะต้องอาศัยอุปกรณ์ และเครื่องจักรมากขึ้น เพราะฉะนั้นถ้าหากเครื่องจักรเกิดเสียขึ้นมากะทันหันจนไม่สามารถใช้งานได้ มันจะส่งผลกระทบต่อการผลิตทันที ซึ่งจะทำให้เสียโอกาสในการผลิต

นอกจากการให้ความสำคัญกับเรื่องการซ่อมบำรุงแล้ว การที่จะมีเครื่องจักรที่คุณภาพที่ดีนั้น จะต้องมีการออกแบบที่ดีด้วย ต้องมีความแข็งแรงทนทาน สามารถใช้งานได้ในระยะเวลานานที่สุด และการดูแลรักษาเครื่องจักรให้ดี

ประเภทของการซ่อมและบำรุง

ประเภทของการซ่อมและบำรุง

ในการซ่อมและบำรุงนั้นมีหลายประเภท แบ่งได้มากมาย ตามหลักการการดำเนินงานของแต่ละประเภท ซึ่งในแต่ละประเภทก็จะมีหลักการ ข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน โดยหลักๆ จะมี 3 ประเภท ดังนี้

การซ่อมและบำรุงเชิงรับ (Reactive Maintenance)

การซ่อมและบำรุงเชิงรับ เป็นประเภทงานซ่อมในแบบเชิงรับ ก็คือ การรอรับมือกับเครื่องจักรที่พังแล้วในแต่ละวัน โดยสภาพของเครื่องจักรคือประเภทที่ผ่านการใช้งานมานานจนเครื่องพังแล้ว แล้วถึงค่อยซ่อมให้กลับมาให้ใช้ได้ใหม่ เป็นการดำเนินการโดยไม่มีการบำรุงรักษา

ในอดีต ยุคโรงงานแรกๆ จะนิยมใช้การซ่อมบำรุงประเภทนี้ โดยปกติจะเรียกว่า CM หรือ Corrective Maintenance หรือบางทีก็จะใช้คำว่า BM หรือ Break Down Maintenance 

ดังนั้นหลักการซ่อมบำรุงคือ ช่างซ่อมจะคอยรับมือกับเครื่องจักรที่พัง เข้าไปแก้ปัญหาโดยการซ่อมให้กลับมาใช้งานได้ เพื่อให้การผลิตสามารถดำเนินงานได้ต่อ

ข้อดี

  • ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับการบำรุงรักษา
  • ไม่ต้องเสียเวลาในการตรวจเช็ค
  • เครื่องจักรจะไม่ต้องพบกับปัญหาการบำรุงรักษามากเกินไป

ข้อเสีย

  • ค่าซ่อมแพงกว่าการซ่อมก่อนที่จะพัง
  • เสียโอกาสในการผลิตสินค้าต่อเนื่อง
  • ประสิทธิภาพเครื่องจักรลดลง
  • ควบคุม หรือวางแผนการซ่อมไม่ได้
  • ไม่เหมาะกับระบบที่ต้องการความเชื่อมั่นสูง เช่น ระบบลิฟท์
  • ไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้าเมื่อเครื่องมือชำรุด
  • เมื่อเกิดความเสียหายอาจมีผลกระทบต่อเนื่องไปยังส่วนอื่นได้

การซ่อมและบำรุงเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance)

การซ่อมและบำรุงเชิงป้องกัน หรือการบำรุงรักษาตามแผน เป็นการซ่อมบำรุงโดยการเข้าไปทำกิจกรรมงานซ่อมต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องจักรพัง เป็นการวางแผนการซ่อมบำรุงก่อนที่เครื่องจักรนั้นจะพังโดยจะกำหนด เวลาที่เหมาะสมเพื่อเข้าไปบำรุงรักษา และซ่อมแซม โดยอาจจะได้มาจากประสบการณ์ หรือคู่มือการใช้งานของระบบอุปกรณ์นั้นๆ ซึ่งอาจจะกำหนดว่าให้มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันในทุกๆ 6 เดือน และถอดอะไหล่ออกมาซ่อมทุกๆ กี่ปีอะไรก็ว่าไป

แต่ว่าในทางสถิติแล้ว การชำรุดของเครื่องมือเครื่องใช้ไม่ได้เป็นแบบกระจายตัวสม่ำเสมอ หรือมีรูปแบบที่แน่นอน ดังนั้นจึงยากที่จะเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการซ่อมบำรุง ซึ่งในบางกรณีปฎิบัติตามแผนแล้ว ก็ยังมีโอกาสเกิดการชำรุดขึ้นมาได้อีก

ข้อดี

  • วางแผน ซ่อมบำรุงได้ง่าย
  • ประสิทธิภาพของเครื่องจักรจะดีกว่าหลังซ่อม เพราะชิ้นส่วนภายในเครื่องจักรที่สำคัญยังไม่พังเสียหายมากนัก
  • ควบคุมอะไหล่ได้ และประหยัดค่าใช้จ่าย
  • ทำให้ผลิตได้อย่างต่อเนื่อง
  • เครื่องจักรที่เสียหายกะทันหันจะลดลง

ข้อเสีย

  • ต้องหยุดเครื่องจักร เพื่อเปลี่ยนชิ้นส่วน ถึงแม้จะไม่มีอะไรเสียหายก็ตาม
  • เปลี่ยนชิ้นส่วนบางชิ้นโดยไม่จำเป็น
  • ใช้เวลาในการบำรุงรักษามากพอสมควร
  • บางครั้งการซ่อมอาจทำให้เกิดปัญหามากกว่าเดิมได้
  • ยังสามารถเกิดปัญหาเครื่องจักรชำรุดแบบไม่คาดคิดได้อยู่
  • แผนงานเป็นแบบเดียวกันในเครื่องมือเดียวกัน โดยไม่ได้คำนึงถึงตัวแปรอื่นๆ เช่น สภาพแวดล้อม หรือภาระการทำงานของเครื่องจักร

การซ่อมและบำรุงเชิงรุก (Proactive Maintenance)

การซ่อมแซมและบำรุงเชิงรุก เป็นการกำหนดกลยุทธ์ในการซ่อมและบำรุงรักษา แก้ปัญหาจากสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหากลับมาซ้ำอีก เป็นการผสมงานซ่อมทั้ง 2 แบบที่ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้ ทั้งในการซ่อมบำรุงเชิงรับ และการซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน โดยจะใช้ศาสตร์แห่งการคาดการณ์ Predictive Maintenance และ Condition Base Maintenance มากำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเข้าไปซ่อมเครื่องมือเครื่องใช้ เพื่อที่จะลดต้นทุนในการซ่อมให้มากที่สุด

 

ตัวอย่างเช่น หากเราจะกำหนดว่าจะเปลี่ยนถ่ายน้ำมัน หรือเปลี่ยนถอดอุปกรณ์ภายในเครื่องจักรทุกๆ กี่ปี แต่ไม่รู้ว่าแบบไหนไวเกินไป หรือช้าเกินไป การซ่อมและบำรุงเชิงรุก จะมาช่วยในส่วนนี้ โดย Proactive Maintenance จะเข้าไปจัดการถึงต้นเหตุของปัญหาเครื่องจักร ซึ่งในบางกรณี ที่มีการเสียหายบ่อยๆ อาจเกิดจากที่สร้างและออกแบบมาไม่เหมาะสมตั้งแต่แรก เลยซ่อมเท่าไหร่ก็ไม่หาย หรือการนำไปวัดคุณภาพของเครื่องจักร ณ เวลานั้นจริงๆ ว่าถึงเวลาที่ต้องซ่อมหรือยัง 

นอกจากนี้การเก็บข้อมูลต่างๆ ในงานซ่อม ไม่ว่าจะเป็นอายุการใช้งานของเครื่องจักร เวลาในการซ่อม ค่าใช้จ่ายในการซ่อม ต่างๆ เพื่อนำมาใช้วิเคราะห์เชิงสถิติในระบบคอมพิวเตอร์ หรือ ระบบ CMMS (Computerized Maintenance Management System) เพื่อนำมากำหนดกลยุทธ์ และวิเคราะห์ปัญหงานซ่อมโดยรวม

ข้อดี

  • ลดต้นทุนในการบำรุงรักษา
  • กำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมของการซ่อมบำรุงได้
  • เน้นประสิทธิภาพในการผลิต
  • ลดการชำรุดของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์
  • ยืดอายุการใช้งานของเครื่องมือเครื่องใช้ให้นานขึ้น

ข้อเสีย

  • ใช้เวลาในการตรวจสอบปัญหาต่างๆ ของเครื่องมือเครื่องใช้มาก
  • ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการร่วมวิเคราะห์
จุดประสงค์ในการซ่อมและบำรุง

จุดประสงค์ในการซ่อมและบำรุง

จุดประสงค์ในการซ่อมและบำรุงนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นเดียวกัน เพราะถ้าเราไม่รู้ว่าจะซ่อมบำรุงไปเพื่ออะไรมันจะไม่มีความหมายเลย ซึ่งจุดประสงค์ก็มีหลายประการ ทั้งเพื่อตัวเครื่องมือ เพื่อความปลอดภัย เพื่อลดมลภาวะ รวมไปถึงเพื่อประหยัดพลังงาน โดยรายละเอียดจะมีดังนี้

  • เครื่องมือ : เพื่อให้เครื่องมือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เต็มความสามารถตรงตามวัตถุประสงค์ที่จัดหามา และเพื่อให้เครื่องมือมีสมรรถนะการทำงานได้สูง ยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้น
  • ความปลอดภัย : ขณะที่มีการใช้งานเครื่องมื่อหรือเครื่องจักร ผู้ใช้จะต้องไม่ได้รับอันตรายใดๆ ที่เกิดจากการพังหรือเสียหายของเครื่องมือเครื่องจักร เพราะฉะนั้นเครื่องมือจะต้องมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน และความปลอดภัยของทรัพย์สินอีกด้วย
  • ลดมลภาวะ : เครื่องมือที่มีความเสียหาย ขาดการบำรุงรักษา จะทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้ เช่น ฝุ่นละออง ไอของสารเคมีออกมา หรือ เครื่องจักรมีเสียงดัง เกิดมลพิษทางเสียงได้ เป็นต้น

ประหยัดพลังงาน : เครื่องมือเครื่องจักรส่วนมาก ในการทำงานจะต้องอาศัยพลังงานมารองรับเป็นจำนวนมาก เช่น ไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง ถ้าเครื่องมือได้รับการซ่อมบำรุงให้อยู่ในสภาพที่ดี และใช้งานได้มีประสิทธิภาพ ไม่เกิดการรั่วไหลของน้ำมัน มีการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ ก็จะไม่สิ้นเปลืองพลังงาน และทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้

สรุป

ในอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ จำเป็นจะต้องมีการจัดตั้งระบบการซ่อมบำรุง เพื่อให้ดำเนินการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถแก้ปัญหาได้เมื่อเครื่องมือหรือเครื่องจักรเกิดขัดข้องขึ้นมา ซึ่งระบบการซ่อมและบำรุง คือ ระบบที่ต้องดูแลสภาพของเครื่องมือ หรือเครื่องจักรในโรงงานให้พร้อมใช้ตลอดเวลา และเป็นส่วนสำคัญมากเมื่อเครื่องจักรเกิดชำรุดกะทันหันขึ้นมา ระบบซ่อมบำรุงนี้จะต้องเข้าแก้ปัญหาทันที เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการผลิต และกันการเสียผลประโยชน์จากการผลิตผลิตภัณฑ์อีกด้วย 

หลักๆ จะมีอยู่ 3 ประเภท คือ การซ่อมและบำรุงเชิงรับ (Reactive Maintenance) หลักการซ่อมบำรุง คือจะซ่อมเมื่อเครื่องจักรผ่านการใช้งานมานานจนชำรุดแล้ว การซ่อมและบำรุงเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) หลักการซ่อมบำรุง คือวางแผนการซ่อมบำรุงล่วงหน้าก่อนที่เครื่องจักรจะเกิดชำรุดขึ้นมา และสุดท้าย การซ่อมและบำรุงเชิงรุก (Proactive Maintenance) เป็นการผสมผสานการซ่อมบำรุงเชิงรับและเชิงป้องกัน เพื่อกำหนดขั้นตอนการซ่อมบำรุง หรือกลยุทธ์ในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรได้อย่างเหมาะสม

เพราะฉะนั้นเมื่อทราบถึงความสำคัญของระบบการซ่อมบำรุง และหลักการซ่อมบำรุงของระบบแต่ละประเภทแล้ว คุณอาจจะนำไปปรับใช้กับอุตสาหกรรมของคุณ การบริหาร การจัดการระบบงานซ่อมบำรุงโดยตรงกับสายการผลิตนั้น เพื่อกันไม่ให้เกิดปัญหา และเสียผลประโยชน์ไปอย่างน่าเสียดาย

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.

Recent Posts

รางสไลด์
รางสไลด์คืออะไร สำคัญแค่ไหนในอุตสาหกรรมโรงงาน

รางสไลด์เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการออกแบบเครื่องจักรในอุตสาหกรรม เพราะนำมาประยุกต์ใช้ได้กับเครื่องจักรและเครื่องมือหลายแบบ

Read More »
อุปกรณ์เซฟตี้
อุปกรณ์ Safety ที่ต้องมีในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อความปลอดภัย

ความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคนที่ทำงานในนี้ จึงควรมีอุปกรณ์ Safety ไว้ เพื่อไม่ให้เสี่ยงกับอันตรายจากอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์อื่นๆ

Read More »
เครื่องหมายและสัญลักษณ์ความปลอดภัยในโรงงาน
เครื่องหมายและสัญลักษณ์ความปลอดภัยในโรงงานที่ไม่ควรมองข้าม

เครื่องหมายและสัญญาลักษณ์ต่างๆ ในโรงงานหรือเขตก่อสร้างเป็นสิ่งที่เราต้องศึกษาเพราะเกี่ยวกับความปลอดภัยของชีวิตเราโดยตรง แต่ละประเภทจะแตกต่างกันออกไป

Read More »
เครื่องหมาย มอก.
เครื่องหมาย มอก. คืออะไร ใช้กับสินค้าอะไรบ้าง?

มอก. ย่อมาจาก มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ซึ่งแปลว่า ข้อกำหนดทางวิชาการที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ช่วยในการตัดสินใจในการเลือกสินค้า

Read More »
ตลับลูกปืน
ตลับลูกปืนคืออะไร มีกี่ประเภท? ไว้ใช้ในงานไหนบ้าง

เครื่องจักรทุกเครื่องย่อมมีชิ้นส่วนหลายชิ้น ตลับลูกปืนก็เป็นชิ้นส่วนหนึ่งที่สำคัญมาก เป็นตัวที่ลดแรงเสียดทานให้ตัวเครื่องกับเพลา ให้ลื่นไหลได้อย่างดี

Read More »
หลักการซ่อมและบำรุงเครื่องจักรในโรงงาน
หลักการซ่อมและบำรุงเครื่องจักรในโรงงาน

โรงงานต่างๆ นอกจากส่วนงานผลิตที่สำคัญ ยังมีงานซ่อมบำรุงที่สำคัญเช่นกัน เพื่อให้เครื่องจักรไม่มีปัญหา จะได้ไม่กระทบกับการทำงานฝ่ายต่างๆ

Read More »